“บอร์ดกสท”ยื้อแปรสสัมปทาน เดินหน้าหาพันธมิตรประมูล3จี 3 g phones
บอร์ด กสท” ยื้อสรุปแผนแปรสัญญาสัมปทาน กับแนวทางแก้ไขข้อพิพาทกับ “ดีแทค-ทรูมูฟ” อ้างครม.ให้เวลาน้อยไป พร้อมอนุมัติให้ดึงพันธมิตรต่างชาติชิงประมูลใบอนุญาต 3 จีจาก กทช. ขณะที่บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของอเมริกา ลงทุนไทยผลิตอุปกรณ์รองรับการเปิดให้บริการ3จีในปีหน้า
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจ มีมติให้ กสท และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สรุปแนวทางการแปรสัญญาสัมปทาน และสรุปแนวทางการแก้ข้อพิพาทกับภาคเอกชน ให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์เพื่อเสนอ ครม.อีกครั้งนั้น ไม่สามารถดำเนินการได้ทันเวลาอย่างแน่นอน เนื่องจากข้อพิพาททั้งหมดอยู่ระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ
นอกจากนี้ยังมีกระบวนการตีความแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ของคณะกรรมการตามมาตรา 13 และมาตรา 22 พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ต้องพิจารณาในหลายประเด็น ประกอบด้วยมีตัวแทนจากหลายหน่วยงาน ดังนั้นการตัดสินใจไม่ได้อยู่ที่กสท ฝ่ายเดียว
นายจิรายุทธ ยังกล่าวถึงการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ3จี ด้วยว่า ขณะนี้คณะกรรมการ(บอร์ด) กสท ยังเห็นชอบในแนวทางให้ กสท เร่งหาพันธมิตรร่วมทุนจากต่างประเทศเพื่อเข้าร่วมประมูลขอใบอนุญาต(ไลเซ่นส์) 3 จี จาก คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ (กทช.) โดยเร็ว หรือนับจากที่บอร์ด ได้เห็นชอบแนวทางดังกล่าวแล้ว
ขณะที่ บริษัท พาวเวอร์เวฟ เทคโนโลยี จำกัด หรือ PWAV บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของอเมริกา เตรียมลงทุนผลิตอุปกรณ์3จี รองรับการเปิดให้บริการ3จีในปีหน้า
นายรอนัล บุชเชอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พาวเวอร์เวฟ เทคโนโลยี จำกัด หรือ PWAV กล่าวว่า บริษัท มีนโยบายเพื่อขยายการเติบโตของบริษัทที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงลงทุนเปิดโรงงานที่ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โดยใช้งบลงทุนกว่า 200 ล้านบาท ในการก่อสร้างโรงงานและลงทุนวัตถุดิบ พื้นที่รวมทั้งหมด 12,500 ตรม. แบ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ 7,100 ตรม. ส่วนของออฟฟิศ 3,000 ตรม. และพื้นที่เก็บสินค้า 1,800 ตรม. เพื่อผลิตอุปกรณ์วิทยุไร้สาย สำหรับใช้ในการติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย “wireless network” แบบครบวงจร ซึ่งโรงงานในเมืองไทยมีการรผลิตระบบเสาแอนแทนนา(Antenna Systems) กลุ่มระบบของสถานีส่งสัญญาณ(Base Station Systems) กลุ่มเสากระจายสัญญาณ(Coverage Systems)
ทั้งนี้เป็นการผลิตเพื่อส่งออกไปยังยุโรปประมาณร้อยละ 99 ซึ่งมีกว่า 675 บริษัททั่วโลกที่เป็นลูกค้าของบริษัท และที่เหลืออีกร้อยละ 1 ผลิตเพื่อส่งให้กับ บริษัทโทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่นหรือ ดีแทค บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส หรือ เอไอเอส และ ทรูมูฟ ที่เป็นลูกค้าหลักที่อยู่ในประเทศไทย ขณะนี้บริษัทมีกำลังการผลิตที่ร้อยละ 50 และคาดว่าในอนาคตจะมีกำลังการผลิตที่เต็ม 100 ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานกว่า 300 คน และในปีหน้าจะมีพนักงานมากกว่า 500 คน
อย่างไรก็ตาม การเข้ามาขยายฐานการลงทุนในประเทศไทยนั้นมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการลงทุน ซึ่งมีวัตถุดิบที่มีศักยภาพเพื่อส่งให้กับบริษัทในการผลิตโปรดักส์ได้ อีกทั้งรัฐบาลไทยยังให้การสนับสนุนและให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีในด้านการสื่อสาร เนื่องจากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะประเทศไทยกำลังเตรียมแผนขยายการลงทุนโทรศัพท์เคลื่อนที่จากระบบ 2G เข้าสู่เทคโนโลยี 3G ซึ่งทางบริษัทพาวเวอร์เวฟเองก็เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ 4G เช่นกัน
สำหรับบริษัทพาวเวอร์เวฟมีการตั้งโรงงานผลิตอุปกรณ์การสื่อสารมีโรงงาน 20 แห่ง ใน 14 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในแถบเอเชียมีประเทศจีน ที่บริษัทเข้าไปตั้งฐานการผลิตเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ปัจจุบันมีพนักงานกว่า 1,500 คน และมีรายได้เพิ่มขึ้นทุกปี หลังจากนั้นเข้าไปขยายฐานกำลังการผลิตที่ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นการโรงงานที่เล็กกว่าประเทศจีน หลังจากประสบความสำเร็จใน 2 ประเทศนี้จึงเข้ามาลงทุนขยายกำลังการผลิตในประเทศไทย
ที่มา : แนวหน้า วันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 หน้า 10
“บอร์ดกสท”ยื้อแปรสสัมปทาน เดินหน้าหาพันธมิตรประมูล3จี 3 g phones
3G Mobile phone 3G iPod 3G iPhone 3G Wireless 3G Accessories
3G Mobile phone 3G iPod 3G iPhone 3G
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น